วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรม งานสัปดาห์ห้องสมุด

การจัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ในระหว่าง วันที่ 1 - 7 สิงหาคม 2552 ครั้งนี้ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของ งานห้องสมุด ที่สนองกลยุทธ์โรงเรียน ข้อที่ 1 กลยุทธ์ ยกระดับคุณภาพการศึกษา สนองกลยุทธ์ ข้อที่ 3 กลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ สนองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 6 มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มาตรฐานที่ 12 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ มาตรฐานที่ 10 มาตรฐานด้านพัฒนาชุมชน แหล่งเรียนรู้ มาตรฐานที่ 14 เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องมา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด ปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า กล้าคิดและกล้าแสดงออกตามความสามารถของตนเองอย่างเหมาะสม เห็นคุณค่าประโยชน์ของการใช้ห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต กิจกรรมในงานสัปดาห์ห้องสุมดในครั้งนี้ มีกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าร่วมตามความถนัด ความสนใจ อย่างหลากหลายกิจกรรม อย่างเช่น การการประกวดวาดภาพระบายสี ในหัวข้อ ห้องสมุดในฝัน กิจกรรมตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน กิจกรรมการประกวดหนังสือหน้าเดียวเกี่ยวกับนิทาน กิจกรรมประกวดคำขวัญ เชิญชวนเข้าห้องสมุด ฯลฯ

กิจกรรม การแข่งขันตอบปัญหาจากสารานุกรมไทย

ตามแนวของการศึกษาในยุคปัจจุบันมีความมุ่งหมายที่จะให้เด็กรู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้มากขึ้นซึ่งเป็นการพัฒนาความเจริญงอกงามของแต่ละบุคคล การศึกษาหาความรู้ในยุคปัจจุบันจะศึกษาแค่ในห้องเรียนนั้นไม่เพียงพอ ประกอบกับการส่งเสริมที่จะให้เด็กมีความคิดริเริ่มและมีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากในห้องเรียน

ดังนั้นจึงจัดกิจกรรมการแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมสำหรับเยาวชนขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้หันมาสนใจในการอ่านหนังสือ เพราะด้วยเหตุที่ว่าขณะนี้ได้มีผู้วิจัยพบว่าเยาวชนไทยไม่ค่อยสนใจที่จะอ่านหนังสือมากเท่าที่ควร และในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไปแต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน มีวัตุถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้รู้คุณค่าของการอ่านหนังสือ เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการอ่านหนังสือให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้กว้างขวาง เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่น่าอ่านให้กับนักเรียน นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการดำเนินชีวิตได้

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไม่เอานะ!!! ป้ายเตือนแบบนี้ในห้องสมุด

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับการใช้ป้ายเตือนผู้ใช้บริการในห้องสมุด

ก็เลยขอเอามาเตือนสติและแนะนำเพื่อนๆ วงการห้องสมุดแล้วกัน

จะได้ไม่โดนผู้ใช้บริการหมั่นไส้เอา…

เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับรูปป้ายเตือนแบบนี้

บรรทัดแรกมาดูเป็นมิตรกับผู้ใช้บริการมากๆ นั่นคือ ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมุด (Welcome to the library)

แต่พอเราได้เห็นข้อควรปฏิบัติและคำเตือนในป้ายนี้แล้ว เลยไม่ค่อยกล้าเข้าห้องสมุดเลย

ในป้ายนะค่ะ

- ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ

- ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้บริการ

- คอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น

- ห้ามพูดคุย

- ห้ามกินอาหารหรือทานเครื่องดื่ม

- ไม่เอาบัตรมาห้ามยืม

ห้ามทำนู้น ต้องทำนี่ ห้ามใช้นู้น ห้ามใช้นี่…..อ่านแล้วอยากจะคลั่งไปเลย

ตกลงนี่มันคุกหรือว่าห้องสมุดกันแน่เนี้ย

เอาเป็นว่าถ้าเราลองเปลี่ยนจากป้ายเมื่อกี้เป็นป้ายด้านล่างนี่หล่ะ

ในป้ายที่ดูเป็นมิตรกว่า

- ใช้โทรศัพท์ได้นะค่ะแต่กรุณาเงียบนิดนึง

- ถ้าคุณต้องการอินเทอร์เน็ตไร้สาย กรุณาแจ้งที่เจ้าหน้าที่เลยค่ะ

- ถ้าค้นหาอะไรแล้วไม่เจอ พวกเราพร้อมจะช่วยคุณนะ

- พวกเรามีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันด้วยนะค่ะ

- จะกินหรือจะดื่มอะไรก็ระมัดระวังนิดนึงนะค่ะ หรือจะใช้บริการร้านกาแฟของเราก็ได้

- พวกเราสามารถช่วยคุณค้นหาหนังสือหรือนิตยสารได้นะค่ะ

- ห้องสมุดใช้สำหรับเรียนรู้ ดังนั้นกรุณาบอกให้เรารู้หน่อยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร

อ่านแล้วรู้สึกดีกว่ากันเยอะเลยนะค่ะ

จากป้ายแรกเมื่อเทียบกับป้ายนี้ต่างกันฟ้ากับเหวเลย

เอาเป็นว่าการจะเขียนป้ายเตือนหรือข้อแนะนำผู้ใช้กรุณาเลือกใช้คำที่ดีๆ นะค่ะ

คำบางคำความหมายเหมือนกันแต่ให้อารมณ์ต่างกัน

เปลี่ยนจากคำว่า “ห้าม” เป็น “ควรจะ” น่าจะดีกว่านะค่ะ

และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก

จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม /

ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะค่ะ


พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่แย่ที่สุด

หลังจากที่ฉันตั้งคำถามเพื่อบรรณารักษ์มาก็เยอะแล้ว

วันนี้ฉันขอตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุดบ้างดีกว่า

ในห้องสมุดแต่ละแห่ง บางที่ก็เจอผู้ใช้ที่ดี บางที่ก็เจอผู้ใช้แย่ๆ เช่นกัน

พฤติกรรมหลายอย่างอาจจะไม่เหมาะสม แต่ฉันอยากรู้ว่า

พฤติกรรมไหนที่บรรณารักษ์อย่างเราไม่เห็นด้วยมากๆ

เราลองไปโหวตกันก่อนดีกว่า…


พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหน...??

ที่ไม่น่าให้อภัย


เอาของกินเข้ามากินในห้องสมุด (แล้วไม่เก็บขยะไปทิ้งด้วยนะ)

คุยโทรศัพท์เสียงดังเสมือนว่าอยู่คนเดียวในห้องสมุด

แอบตัดหรือฉีกหนังสือของห้องสมุด

ไม่ยอมเสียค่าปรับเมื่อเกินกำหนดคืนหนังสือ

แอบซ่อนหนังสือไว้ในที่ต่างๆ เช่น เอาหมวด 100 ไปใส่ 500

แอบจดหรือเขียนข้อความต่างๆ ลงในหนังสือของห้องสมุด

ทำหนังสือของห้องสมุดหาย

อื่นๆ โปรดระบุ……….

อยากถามเพื่อนๆ ว่า


“ถ้าคุณเจอผู้ใช้ห้องสมุดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว

คุณว่า.....

ผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่คุณจะไม่พอใจมากที่สุด”


หากไม่มีให้เลือกด้านบน กรุณาระบุหน่อยนะค่ะว่ามีอะไรเพิ่มอีกมั้ย

แล้วเราจะมาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

สำหรับฉันเอง...

ตอนนี้เจอปัญหาเรื่องการแอบตัดหรือฉีกหนังสือบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งเมื่อผู้ใช้นำมาคืนมักจะอ้างว่า

“มันขาดอยู่แล้ว ฉันไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย”

“คนที่ยืมก่อนฉันทำขาดหรือปล่าว”

“ตอนฉันเอาไปมันก็ไม่มีหน้านี้อยู่แล้วนะ”

ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีป้ายเตือน ณ จุดบริเวณเคาน์เตอร์ว่า

“หากหนังสือเล่มนั้นชำรุดกรุณาอย่ายืมออก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทันที

มิฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อสภาพหนังสือที่ท่านยืมไป”

และก่อนทำการยิงบาร์โค้ตทุกครั้ง บรรณารักษ์จะลองเปิดดูแบบผ่านๆ

เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยขีดเขียน หรือรอยขาด

และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก

จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม /

ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะค่ะ


บรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดต้องพูดคุยกันบ้าง…

การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร

คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ฉันกำลังจะกล่าวหรือไม่
“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา”
เพื่อนๆ รู้มั้ยค่ะว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด
ลองคิดดูนะค่ะว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน ฉันคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเองแต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน

ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปค่ะ…..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยค่ะ
ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย
มีอะไรแนะนำกันบ้างนะค่ะ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน…

บางสิ่งบางอย่างที่สวยกว่าบรรณารักษ์…จริงหรือ!!??

เพื่อนๆ จำประโยคนี้กันได้มั้ยค่ะ “sexier than a librarian” หรือที่แปลว่า สวยกว่าบรรณารักษ์

ประโยคนี้เป็นสโลแกนของสินค้าอย่างนึงนั่นก็คือ…. Sony e-Book Reader นั่นเอง

เพื่อนๆ จำประโยคนี้กันได้มั้ยค่ะ “sexier than a librarian” หรือที่แปลว่า สวยกว่าบรรณารักษ์

ประโยคนี้เป็นสโลแกนของสินค้าอย่างนึงนั่นก็คือ…. Sony e-Book Reader นั่นเอง

บล็อกของบริษัท sony - Sony’s Reader: Sexier than a Librarian?

แว้บแรกที่ฉันเจอข้อความนี้ ฉันเองก็บอกตามตรงเลยว่าก็สงสัยตั้งนานว่าอะไร

แต่พอเห็นสินค้าว่านั่นคือ Ebook Reader ก็ยิ่งทำให้ฉันตกใจมากมาย

ไม่นึกว่า Sony จะเอาสินค้ามาเล่นกับวิชาชีพบรรณารักษ์ได้ขนาดนี้

แต่เพียงแค่ประโยคแค่นี้แหละค่ะ “sexier than a librarian”

ก็ทำเอาเพื่อนๆ บล็อกเกอร์ชาวบรรณารักษ์ทั่วโลกไม่พอใจ

จนทำให้มีกระทู้ หรือบล็อกมากมายที่เขียนมาแก้กับเรื่องนี้ เช่น

- Sony e-Book Reader Not Sexier Than a Librarian

ฉันขอยกตัวอย่างคำพูดของบล็อกเกอร์บางคนนะค่ะ

บล็อกเกอร์อย่าง Thomas Hawk เจ้าของบล็อก Thomas Hawk’s digital connection

ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า

“There is just no way I’m buying that one. Nice try though Sony. I’m sure the reader’s probably just fine ‘but’ no way is it sexier than a librarian.”

หากถามฉันว่า Sony e-Book Reader สวยมั้ย ฉันคงตอบว่า งั้นๆ แหละค่ะ

แต่ถ้ามองในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถฉันว่าโอเคในระดับนึงเลยนะค่ะ

ความสามารถของ Sony e-Book Reader เช่น

- รองรับไฟล์ e-book / ภาพ / เสียง

- สามารถอ่านได้ 7500 หน้าต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง

- สามารถโหลดหนังสือได้ผ่านทาง เว็บ connection

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ฉันขอจบตรงที่เรื่องบางเรื่องเราคงวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้

เช่น กรณีดังกล่าวที่เอาสิ่งของมาวัดกับคน โอเครูปลักษณ์บางทีมันก็ดูดีนะค่ะ

แต่ฉันให้แง่คิดนิดนึงว่า สิ่งของอาจจะสวยงามแต่มันก็ไม่มีหัวใจที่รับรู้ความรู้สึกหรอกนะค่ะ

Sony e-Book Reader สวยก็จริงแต่ในแง่ของการบริการมันไม่สามารถบริการด้วยใจเหมือนบรรณารักษ์ได้นะค่ะ

ดังนั้นฉันก็ขอสรุปว่ายังไงบรรณารักษ์ก็บริการได้ดีกว่าสิ่งของนะค่ะ

เรื่องจริงๆนะว่าบรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009

บอกไว้คร่าวๆ ว่า......

บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องอยู่กับความรู้ และปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือการช่วยเหลือ ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ ข้อมูลดิจิตอลได้

การเต็มใจในงานบริการ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์

บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลาทั้งเลิกงานค่ำ และวันหยุด หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ


รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก นอกจากเรื่องในข่าวแล้ว ขอแถมอีกสักนิดดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องความนิยมในการเรียนบรรณารักษ์ที่สหรัฐอเมริกา มีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้


- Archives and Preservation

- Digital Librarianship

- Health Librarianship

- Information Systems

- Law Librarianship

- School Library Media

- Services for Children and Youth


นอกจากนี้ยังมีสรุปข่าวนี้จากเว็บไซต์ของ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อีกคือ “U.S.News & World Report รายงานเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ยกให้อาชีพบรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 เนื่องจากเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือผู้คนด้านข้อมูลและความรู้ เป็นที่ต้องการของหลาย ๆ องค์กร และรายได้ค่อนข้างดี” เป็นยังไงกันบ้าง อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์) แต่เชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้ได้ใจทุกคน

หากถามฉันว่า Sony e-Book Reader สวยมั้ย

ฉันคงตอบว่า “งั้นๆ แหละค่ะ”

แต่ถ้ามองในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถฉันว่าโอเคในระดับนึงเลยนะค่ะ

ความสามารถของ Sony e-Book Reader เช่น

รองรับไฟล์ e-book / ภาพ / เสียง

สามารถอ่านได้ 7500 หน้าต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง

สามารถโหลดหนังสือได้ผ่านทาง เว็บ connection

เอาเป็นว่าเรื่องนี้....ฉันขอจบตรงที่......

เรื่องบางเรื่องเราคงวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้

เช่น กรณีดังกล่าวที่เอาสิ่งของมาวัดกับคน

โอเค......รูปลักษณ์บางทีมันก็ดูดีนะค่ะ

แต่ฉันให้แง่คิดนิดนึงว่า.....

สิ่งของอาจจะสวยงาม...
แต่มันก็ไม่มีหัวใจที่รับรู้ความรู้สึกหรอกนะค่ะ

Sony e-Book Reader สวยก็จริง
แต่ในแง่ของการบริการ....
มันไม่สามารถบริการด้วยใจเหมือนบรรณารักษ์ได้นะค่ะ

ดังนั้น...
ฉันก็ขอสรุปว่า.....

...ยังไง....บรรณารักษ์ก็บริการได้ดีกว่าสิ่งของนะค่ะ

จุดประสงค์การเข้าห้องสมุดแบบขำขำ


วันนี้ขอเล่าเรื่องแบบไม่เครียดแล้วกันนะค่ะ (ปกติมีแต่เรื่องเครียดๆ หรอ) เอาเป็นว่าเพื่อนๆ รู้หรือปล่าวค่ะว่าผู้ใช้แต่ละคนที่เข้าห้องสมุด มีวัตถุประสงค์การใช้ห้องสมุดแตกต่างกัน

วันนี้ฉันขอรวบรวมจุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

จุดประสงค์ของการเข้าห้องสมุดแบบขำขำ

1. หนอนหนังสื - ชอบอ่านหนังสือเลยเข้าห้องสมุด
เข้ามาเพื่อจุดประสงค์อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน…แบบว่าขยันสุดๆ ไปเลยพวกนี้

2. มาเรียนค่ะ - มีทั้งกรณีที่วิชาเรียนมีเรียนที่ห้องสมุด (พวกเอกบรรณฯ)
และอาจารย์ขอใช้ห้องสมุดเป็นคาบในการค้นหาข้อมูลหรือกิจกรรมต่างๆ

3. มาหาเนื้อหาทำรายงาน - จริงๆ เหตุผลนี้น่าจะเอาไปรวมกะข้อสองนะ
เพียงแต่อาจารย์ไม่ได้บังคับให้หาในห้องสมุดนะ หาเนื้อหาที่ไหนก็ได้แต่นักศึกษาเลือกห้องสมุด ก็ดีเหมือนกันนะ

4. มาเล่นคอมค่ะ - พวกนี้ไม่ได้อยากอ่านเนื้อหาที่เป็นกระดาษค่ะ
ในห้องสมุดมีบริการอินเทอร์เน็ตก็เลยมาเล่นซะ ให้พอใจกันไปเลย

5. มาติวหนังสือในห้องสมุดดีกว่า - พวกนี้ก็ชอบเข้าห้องสมุดเพื่อติวหนังสือ นับว่าขยันกันมากๆ
เหตุผลก็เพราะว่าห้องสมุดมีห้องประชุมกลุ่มแล้วพวกนี้แหละก็จะขอใช้บริการประจำเลย
และในห้องประชุมนี้เอง ภายในมีโต๊ะใหญ่ แล้วก็กระดานสำหรับเขียน ทำให้เหมือนห้องเรียนแบบย่อมๆ เลย
เอกบรรณฯ เราก็ชอบห้องนี้แหละ เพราะมันส่วนตัวกว่าห้องเรียนที่ตึกเรียนรวมค่ะ

6. จุดรอคอยการเรียนวิชาต่อไป - กลุ่มนี้คือนักศึกษาที่เรียนแบบไม่ต่อเนื่องกัน พอมีเวลาว่างนาน
ก็ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยมานั่งเล่นที่ห้องสมุด มาดูข่าว หนังสือพิมพ์ ฆ่าเวลา
เพราะว่าห้องสมุดอยู่ใกล้กับตึกเรียน และที่สำคัญคือ เย็นสบายค่ะ

7. มาหลับ - กลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงจากจุดประสงค์ต่างๆ ค่ะ
เช่น ตั้งใจมาอ่านหนังสือ อ่านไปอ่านมาง่วงซะงั้นก็เลยหลับ
หรือนั่งติวหนังสือกันอยู่แอบหลับไปซะงั้น เพราะด้วยบรรยากาศที่เย็นสบาย เป็นใครก็ต้องเคลิ้มไปซะงั้น

8. มาหม้อ - กลุ่มนี้คือกลุ่มพวกที่ชอบใช้ห้องสมุดเพื่อการบันเทิง
เนื่องจากห้องสมุดมักมีผู้ใช้บริการเป็นผู้หญิง ดังนั้นกลุ่มนี้ฉันคงไม่ต้องบอกหรอกนะค่ะว่าเป็นผู้ชาย
(อดีตฉันก็ทำ อิอิ กล้าบอกไว้ด้วย 5555)

เอาเป็นว่าไม่ว่ากลุ่มไหนก็ตาม แต่ทุกคนมีสถานที่ในดวงใจเหมือนกันนั้นคือ ห้องสมุด
ยังไงซะ บรรณารักษ์อย่างเราก็จะดูแลคุณอยู่แล้วหล่ะค่ะ

กิจกรรมและโครงการของห้องสมุด

โครงการ
1. โครงการวางทุกงานอ่านทุกคน
2. โครงการแข่งขันตอบปัญหาจากสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
3. โครงการสัปดาห์ห้องสมุด


กิจกรรม
1. กิจกรรมยอดนักอ่าน
2. กิจกรรมเล่านิทาน
3. กิจกรรมอื่นๆ ที่ทางห้องสมุดจัดขึ้น

ระเบียบการใช้ห้องสมุดขาว - แสด





ให้บริการอ่านโดยเสรีแก่สมาชิกใน วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.30-17.30 น.
เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

การให้บริการยืมทรัพยากรห้องสมุด ให้บริการยืม-คืน เปิดให้บริการยืม-คืน
ตลอดทั้งวัน

ห้องสมุดโรงเรียนอบจ. บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502)





คำขวัญ “แหล่งรวบรวมความรู้ ควบคู่เทคโนโลยี มุ่งให้เป็นคนดีมีคุณธรรม”



งานบริการของห้องสมุด

งานบริการนับเป็นหัวใจของห้องสมุด ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีผู้ใช้ทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดมากขึ้น งานบริการที่จัดอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุด ทำให้ผู้ใช้บริการเห็นความสำคัญ ครู นักเรียนควรได้รับบริการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนการสอน ให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ทั้งบริการอ่านโดยเสรี บริการยืม-คืน และบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการต่าง ๆ มีดังนี้
1. บริการอ่านโดยเสรี
2. งานบริการยืม-คืน
3. บริการหนังสือจอง
4. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
5. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
6. บริการบรรณานุกรมหนังสือใหม่
7. บริการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (บัตรรายการ)
8. บริการหนังสือพิมพ์ให้กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน
9. บริการใช้ห้องสมุดเป็นชั้นเรียน
10. บริการห้องสมุดเคลื่อนที่
11. บริการแนะแนวการอ่าน
12. บริการชุมชน

ทรัพยากรของห้องสมุด

1. หนังสือ
ห้องสมุดโรงเรียนอบจ. บ้านตลาดเหนือ(วันครู 2502) ได้จัดหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมของดิวอี้
ซึ่งแบ่งหนังสืออกเป็น 10 หมวดใหญ่ คือ
000 คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และเบ็ดเตร็ด
100 ปรัชญา และจิตวิทยา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์ 510 คณิตศาสตร์
600 เทคโนโลยี
700 ศิลปะ และนันทนาการ
800 วรรณคดี และวรรณกรรม
900 ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์

นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์พิเศษเป็นตัวอักษรสำหรับหนังสือต่อไปนี้
นวนิยาย
รส. เรื่องสั้น
เยาวชน
คู่มือเตรียมสอบ
หนังสือภาพ นิทาน
หนังสืออ้างอิง


2. วารสาร
วารสารฉบับล่าสุด จัดเรียงไว้ที่ชั้นวารสารฉบับปัจจุบัน วารสารฉบับล่วงเวลา เก็บไว้ในตู้วารสาร ผู้ใช้บริการแจ้งบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เพื่อขอใช้บริการ

ายชื่อวารสารที่ห้องสมุดมีให้บริการ ดังนี้

 การ์ตูนขายหัวเราะ  การ์ตูนขายมหาสนุก  ชีวจิต

 กุลสตรี Health & Cuisine  ใกล้หมอ

 แม่บ้าน  ประดิดประดอย  ต่วยตูน

Fine Art Science world Up Date

 สารคดี PC World Slimming

Kids and school

3. หนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ล่าสุด ให้บริการบริเวณมุมที่อ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลา ผู้ใช้บริการแจ้งบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เพื่อขอใช้บริการ


รายชื่อหนังสือพิมพ์ที่มีให้บริการ ดังนี้

 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  หนังสือพิมพ์เสียงใต้